ภาษาโปรตุเกส

ภาษาโปรตุเกส
ภาษาโปรตุเกส (português, ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน

ภาษาโปรตุเกสได้รับการขนานนามว่าเป็น A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูวิช วัช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ อุชลูซีอาดัช) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซียู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones

ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาแรกของประเทศแองโกลา ประเทศบราซิล ประเทศโปรตุเกส และประเทศเซาตูเมและปรินซิปีและเป็นภาษาที่ใช้กว้างขวางมากที่สุดในประเทศโมแซมบิก นอกจากนี้ยังเป็นภาษาราชการของประเทศติมอร์-เลสเต (ร่วมกับภาษาเตตุน) และของมาเก๊า (ร่วมกับภาษาจีน) ภาษาโปรตุเกสมีการพูดกว้างขวาง แต่ไม่ใช่ภาษาราชการในประเทศอันดอร์รา ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศนามิเบีย และประเทศปารากวัย ภาษาครีโอลโปรตุเกสเป็นภาษาแม่ของประเทศกาบูเวร์ดีและบางส่วนของประชากรของประเทศกินี-บิสเซา ชาวกาบูเวร์ดีส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาโปรตุเกสมาตรฐานได้ด้วย และใช้ในระดับภาษาของท้องถิ่น

ชุมชนผู้อพยพที่สามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ปรากฏอยู่ในหลายเมืองทั่วโลก เช่น มอนทรีออลและโทรอนโตในประเทศแคนาดา; ปารีสในประเทศฝรั่งเศส; อาซุนซิออนในประเทศปารากวัย; บอสตัน นิวเบ็ดฟอร์ด เคปค็อด ฟอลล์ริเวอร์ โฮโนลูลู ฮิวสตัน นวร์ก นครนิวยอร์ก ออร์แลนโด ไมแอมี พรอวิเดนซ์ แซคราเมนโตในสหรัฐอเมริกา; บัวโนสไอเรส ในประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัย และในประเทศญี่ปุ่น ประเทศอื่น ๆ ที่สามารถพบผู้ที่พูดภาษาโปรตุเกสได้ รวมถึงอันดอร์รา เบลเยียม เบอร์มิวดา สวิตเซอร์แลนด์ และบางชุมชนในประเทศอินเดีย เช่นกัว มีผู้พูดภาษาโปรตุเกส ประมาณ 187 ล้านคนในอเมริกาใต้ 17 ล้านคนในแอฟริกา 12 ล้านคนในยุโรป 2 ล้านคนในอเมริกาเหนือ และ 610,000 คนในเอเชีย

ประเทศ
  • ประเทศกาบูเวร์ดี
    กาบูเวร์ดี (Cabo Verde, ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี (República de Cabo Verde) เป็นประเทศเกาะที่ตั้งอยู่บนกลุ่มเกาะภูเขาไฟประมาณ 10 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง ห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันตก 570 กิโลเมตร (350 ไมล์) ทุกเกาะมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) เกาะสามเกาะในจำนวนนี้ (ได้แก่ เกาะซัล, เกาะโบวาวิชตา และเกาะไมยู) มีลักษณะค่อนข้างราบ แห้ง และเต็มไปด้วยทราย ส่วนเกาะอื่น ๆ โดยทั่วไปจะมีภูมิประเทศที่ขรุขระและมีพืชพรรณขึ้นอยู่มากกว่า

    ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามานั้น บนหมู่เกาะกาบูเวร์ดีไม่มีผู้คนอาศัยอยู่จนกระทั่งนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ค้นพบและเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก หมู่เกาะแห่งนี้จึงทวีความมั่งคั่งขึ้นเรื่อย ๆ และดึงดูดให้บรรดาโจรสลัดเข้ามาปล้นสะดมอยู่หลายครั้ง หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ ฟรานซิส เดรก โจรสลัดหลวงของราชินีอังกฤษซึ่งเข้าปล้นเมืองรีไบรากรังดึ (เมืองหลักของหมู่เกาะในขณะนั้น) ถึงสองครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1580 นอกจากนี้เรือหลวงบีเกิล (ที่มีชาลส์ ดาร์วิน เดินทางไปด้วย) ก็เข้ามาจอดแวะที่กาบูเวร์ดีในปี ค.ศ. 1832 เช่นกัน
  • ประเทศกินี-บิสเซา
    กินี-บิสเซา (Guinea-Bissau) หรือ กีแน-บีเซา (Guiné-Bissau, ; ฟูลา: ???? ??????? Gine-Bisaawo; มันดินกา: ߖߌߣߍ ߺ ߓߌߛߊߥߏ߫ Gine-Bisawo) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกินี-บิสเซา (Republic of Guinea-Bissau) หรือ สาธารณรัฐกีแน-บีเซา (República da Guiné-Bissau) เป็นประเทศอยู่ในแอฟริกาตะวันตก เมืองหลวงชื่อว่าบิสเซา มีเนื้อที่โดยประมาณ 36125 km2 กับประชากรโดยประมาณ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับเซเนกัล ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับกินี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก กินี-บิสเซายังมีเกาะเล็ก ๆ นอกแผ่นดินใหญ่อีกประมาณ 25 เกาะอีกด้วย

    กินี-บิสเซาเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอยู่นานถึง 5 ศตวรรษ จากนั้นความตื่นตัวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากโปรตุเกสได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โดยกลุ่ม African Party for the Independence of Guinea-Bissau and the Islands of Cape Verde (PAIGC) โดยมีนายอามิลการ์ กาบราล เป็นผู้นำชักชวนให้ประชาชนต่อต้านการปกครองและเรียกร้องเอกราชคืนจากโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2517 โดยมีนายลูอีซ กาบราล พี่ชายของนายอามิลการ์เป็นประธานาธิบดีคนแรก และกลุ่ม PAIGC ได้กลายเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการจัดตั้งสภาประชาชน และสภาคณะปฏิวัติประกอบด้วยสมาชิก 11 คน ทำหน้าที่ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ
  • ประเทศเซาตูแมอีปริงซีป
    เซาตูแมอีปริงซีป หรือ เซาตูเมและปรินซีปี (São Tomé e Príncipe, ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูแมอีปริงซีป หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูเมและปรินซีปี (República Democrática de São Tomé e Príncipe) เป็นประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ ในอ่าวกินี ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะเซาตูแมและเกาะปริงซีป ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 140 km และตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งกาบองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 250 and 225 km ตามลำดับ เกาะทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีประชากร 201,800 คน (ประมาณทางการ ค.ศ. 2018)

    เกาะเซาตูแมซึ่งมีขนาดใหญ่กว่านั้น ตั้งอยู่เกือบตรงกับบริเวณที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน และตั้งชื่อตามนักบุญทอมัส (Saint Thomas) เนื่องจากนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ค้นพบเกาะนี้ในวันนักบุญทอมัส (St. Thomas's Day) พอดี
  • มาเก๊า
    มาเก๊า หรือ เอ้าเหมิน มีชื่อทางการว่า เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน โดยมีฐานะเป็น เขตบริหารพิเศษ ของจีนภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศสองระบบ” เป็นเวลา 50 ปี จากวันที่ 19 ธันวาคม 2542 จนถึงปี วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2592

    มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาจีนกลาง ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย ชาวมาเก๊า (Macanese) มีความหมายโดยกว้าง ๆ คือผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว
  • ยิบรอลตาร์
    ยิบรอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 34,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก

    เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1704 ขณะกำลังเกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ราชอาณาจักรอังกฤษ และสาธารณรัฐดัตช์ ได้ยึดครองดินแดนยิบรอลตาร์มาจากสเปน โดยได้ใช้เป็นชัยภูมิสำคัญในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาภายหลังจากการทำสนธิสัญญายูเทรกต์เพื่อยุติสงคราม ทำให้ยิบรอลตาร์ มีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1713 เป็นต้นมา โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิบรอลตาร์เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ในการควบคุมการผ่านเข้า-ออกในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • เจอร์ซีย์
    เจอร์ซีย์ (Jersey) เป็นหนึ่งในสามดินแดนปกครองตนเอง​ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร (Crown Dependency)​ ​ แต่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งในสหราชอาณาจักร​ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะแชเนิลบริเวณช่องแคบอังกฤษ และอยู่ใกล้เคียงกับชายฝั่งนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ​ มีเมืองหลวงชื่อกรุงเซนต์เฮลิเยอร์ โดยเจอร์ซีย์เป็นดินแดนในหมู่เกาะแชเนิล ที่มีอาณาเขตอยู่ใกล้กับประเทศฝรั่งเศส​มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเกาะออลเดอร์นีย์​ของเกิร์นซีย์​

  • เบอร์มิวดา
    เบอร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา​ไปทางตะวันออก 580 ไมล์ และอยู่ห่างจากรัฐโนวาสโกเชียของประเทศแคนาดา​ไปทางใต้ 1,093 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609)

  • ประเทศติมอร์-เลสเต
    ติมอร์-เลสเต, ตีโมร์-แลชต์ (Timor-Leste, ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยตีโมร์-แลชต์ (República Democrática de Timor-Leste; Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย

    แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ตีโมร์-แลชต์ ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส มีดอกไม้ประจำชาติคือดอกกุหลาบ