ภาษาคุชราต

ภาษาคุชราต
ภาษาคุชราต (ગુજરાતી, คุชราตี, ) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย โดยหลักพูดโดยชาวคุชราต ภาษาคุชราตสืบต้นตอจากภาษาคุชราตเก่า (c. ค.ศ. 1100–1500) โดยมีสถานะเป็นภาษาราชการในรัฐคุชราตและดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ณ ค.ศ. 2011 ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศอินเดียตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ (55.5 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประมาณ 4.5% ของประชากรทั้งประเทศ) ณ ค.ศ. 2007 ภาษานี้เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากในอันดับที่ 26 ของโลกตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่

ภาษาคุชราตมีอายุมากกว่า 1,000 ปี และมีผู้พูดมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก มีผู้อพยพชาวคุชราตที่ใช้ภาษานี้ในเอเชียใต้ส่วนอื่น โดยเฉพาะในมุมไบและปากีสถาน (ส่วนใหญ่อยู่ในการาจี) และยังมีหลายประเทศนอกเอเชียใต้ที่ผู้พลัดถิ่นชาวคุชราตใช้ภาษานี้ ในทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาคุชราตถือเป็นหนึ่งในภาษากลุ่มอินเดียที่เติบโตเร็วที่สุดและใช้พูดมากที่สุดในสหรัฐและแคนาดา ในทวีปยุโรป ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากเป้นอันดับ 2 ในชาวอังกฤษเอเชียใต้ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดในลอนดอนมากเป้นอันดับที่ 4 นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในแอริกาตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเคนยา, ยูกันดา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และแอฟริกาใต้ ส่วนทที่เหลือ มีจำนวนผู้พูดน้อยในฮ่องกง, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออกกลางอย่างบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากภาษาสันสกฤตโดยทั่วไปแบ่งภาษาในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาคือ: จากทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมา ภาษาคุชราตมีพัฒนาการแยกจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ:

* 1) ภาษากลุ่มอินโด-อารยันโบราณ ได้แก่ภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตคลาสสิก

* 2) ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางได้แก่ภาษาปรากฤตสำเนียงต่างๆ และภาษาอปพราหมศัส

* 3) ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกอล

* 1) ภาษากลุ่มอินโด-อารยันแยกเป็นกลุ่มเหนือ กลุ่มตะวันออกและตะวันตกขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะ เช่นเปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องในกลุ่มเหนือ (ภาษาสันสกฤต ทันตะ เป็นภาษาปัญจาบ ทานต์) และเสียงจากฟันและเสียงม้วนลิ้นรวมกับเสียงเพดานแข็ง (เช่น ภาษาสันสกฤต สันธยา เป็น ภาษาเบงกอล สาฌ)

* 2) กลุ่มตะวันตกแยกเป็นกลุ่มกลางและกลุ่มใต้

* 3) กลุ่มกลางแยกเป็นภาษาคุชราต/ราชสถาน ภาษาฮินดีตะวันตก และภาษาปัญจาบ/ลหันทะ/สินธี ตามลักษณะการเปลี่ยนกริยาช่วยและปรบทในภาษาคุชราต/ราชสถาน

* 4) ภาษาคุชราต/ราชสถาน แยกเป็นภาษาคุชราตและภาษาราชสถานโดยการพัฒนาของลักษณะบางอย่าง เช่นเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -n- ในพุทธศตวรรษที่ 20
ประเทศ