ภาษาฟีจี

ภาษาฟีจี
ภาษาฟีจี อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย พูดในประเทศฟีจี ประมาณ 320,000 คน และมีผู้ใช้ภาษาฟีจีในประเทศนิวซีแลนด์อีกเกือบพันคน

เดวิด คาร์กิล (1809-1843) เป็นหมอสอนศาสนาและนักสำรวจชาวสกอตที่ศึกษาภาษาฟีจี และเป็นผู้กำหนดอักษรละตินเพื่อใช้กับภาษาฟีจีโดยยึดตามสำเนียงบาอูเป็นหลัก เขาได้กำหนดไว้หลายแบบ ซึ่งมีข้อโต้แย้งจากชาวฟีจี และเขาก็ดำเนินงานต่อ ตอนแรกเขาได้กำหนดตัว mb และ nd ใช้แทนเสียง /mb/ และ /nd/ แต่ชาวฟีจีกลับออกเสียงเป็นสองเสียง ในที่สุดเขาจึงกำหนดระบบสะกดให้เข้ากับความเข้าใจของชาวฟีจี และใช้มาจนถึงทุกวันนี้

b = [mb] มฺบ

c = [ð] ฑ

d = [nd] (di = [ndʒi]) นฺด (นฺจี)

f = [f] ฟ

g = [ŋ] ง

j = [tʃ] ~ [ndʒ] จ

k = [k] ก

l = [l] ล
ประเทศ
  • ประเทศฟีจี
    ฟีจี (Fiji, ; Viti, ; ฮินดีฟีจี: फ़िजी) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟีจี (Republic of Fiji; Matanitu ko Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी गणराज्य) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งของโอเชียเนีย ตั้งอยู่ห่างจากประเทศนิวซีแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,100 ไมล์ทะเล (2,000 กิโลเมตร) ฟีจีประกอบด้วยกลุ่มเกาะมากกว่า 330 เกาะ ในจำนวนนี้มีผู้อยู่อาศัยถาวรประมาณ 110 เกาะ และยังมีเกาะเล็กอีกกว่า 500 เกาะ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,300 ตารางกิโลเมตร กลุ่มเกาะที่อยู่ห่างไกลที่สุดคือ Ono-i-Lau ประชากรประมาณ 87% ของประชากรฟีจีทั้งหมด 898,760 คนอาศัยอยู่บนเกาะหลักเพียง 2 เกาะ ได้แก่วีตีเลวูและวานูอาเลวู โดยประชากรกว่า 75% อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งรอบเกาะวีตีเลวู ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงฟีจี ซูวา รวมทั้งศูนย์กลางเมืองขนาดเล็ก เช่น นาดี ที่ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักในท้องถิ่น และเลาโตกา ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมอ้อย ส่วนพื้นที่ชั้นในของเกาะมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างเบาบางเพราะมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา

    หมู่เกาะส่วนใหญ่ของฟีจีมีกำเนิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่เริ่มตั้งแต่ราว 150 ล้านปีก่อน ปัจจุบันยังคงพบความเคลื่อนไหวของความร้อนใต้พิภพบางส่วนบนเกาะวานูอาเลวูและตาเวอูนี ส่วนระบบความร้อนใต้พิภพที่พบบนเกาะวีตีเลวูไม่ได้มีแหล่งกำเนิดมาจากภูเขาไฟและมีการปลดปล่อยพื้นผิวที่มีอุณหภูมิต่ำอยู่ระหว่าง 35 ถึง 60 องศาเซลเซียส