แผนที่ - ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว (Shanghai Hongqiao International Airport)

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว (Shanghai Hongqiao International Airport)
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หรือ ท่าอากาศยานหงเฉียว เป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานนานาชาติของเซี่ยงไฮ้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญของจีน ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ สนามบินนี้ตั้งอยู่ใกล้กับย่านหงเฉียวในเขตฉางหนิง และเขตหมิ่นหัง อยู่ห่าง 13 km ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง และเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับใจกลางเมืองมากกว่าท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง

ท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นศูนย์กลางการบินของ สายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์, เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์, จูนเยาแอร์ไลน์ และ สปริงแอร์ไลน์ ในปี 2559 สนามบินหงเฉียวให้บริการผู้โดยสาร 40,460,135 คน นับเป็นสนามบินที่พลุกพล่านอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นอันดับที่ 45 ของโลก ในปลายปี 2554 ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการ 22 สายการบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 82 เส้นทางการบิน ในปี 2562 ท่าอากาศยานหงเฉียวได้รับการรับรองด้วยคะแนนสนามบินระดับ 5 ดาวของสกายแทรกซ์ (Skytrax) ในด้านการให้การอำนวยความสะดวก ความสะดวกสบายของอาคารผู้โดยสาร ความสะอาด การช็อปปิ้ง การให้บริการอาหารเครื่องดื่ม และการบริการพนักงาน

การก่อสร้างท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเริ่มสร้างขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2464 เมื่อสำนักงานกิจการการบินของรัฐบาลเป่ย์หยาง ร่างโครงการสายการบินปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ ซึ่งวางแผนเส้นทางบินไปยังเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2466 ท่าอากาศยานเปิดใช้งานแบบผสมทางทหารและพลเรือน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นจุดเกิดเหตุของ 'อุบัติการณ์โอยาม่า' ในปี 2480 ที่ร้อยโทญี่ปุ่นถูกสังหารโดยทหารรักษาสันติภาพของจีน และเป็นเหตุหนึ่งในการนำไปสู่การยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองท่าอากาศยานถูกครอบครองโดยทหารญี่ปุ่นและใช้เป็นฐานทัพอากาศ และยังใช้เป็นฐานทัพอากาศอย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาต่อมาหลังจากถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลต่อมาคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2506 สภาแห่งรัฐได้อนุมัติการขยายสนามบินหงเฉียวไปเป็นท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ โครงการขยายแล้วเสร็จในปี 2507 และเปิดใหม่ในเดือนเมษายน 2507 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2515 กองทัพอากาศถอนตัวออกจากสนามบินหงเฉียวอย่างเป็นทางการ

ในเดือนมีนาคม 2527 โครงการอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวได้ขยายอีกครั้งและโครงการขยายเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน หลังจากการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารพื้นที่ใช้งานนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ในปี 2531 การบินพลเรือนเซี่ยงไฮ้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรการบริหารที่สำคัญโดยแยกสนามบินออกจากสายการบิน ท่าอากาศยานซ่างไห่ได้ดำเนินการแยกต่างหากและกลายเป็นองค์กรอิสระทางเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนของปีเดียวกัน ในเดือนธันวาคม 2531 การขยายตัวครั้งที่สามของอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534

ท่าอากาศยานยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวทำหน้าที่เป็นท่าอากาศยานหลักของเซี่ยงไฮ้จนกระทั่งสนามบินนานาชาติผู่ตงเสร็จสมบูรณ์ในปี 2542 เมื่อเที่ยวบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมดถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานผู่ตง ในปัจจุบันท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินในประเทศ และห้าเส้นทางระหว่างประเทศ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว กรุงโตเกียว, ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ กรุงโซล, ท่าอากาศยานไถเป่ย์ซงซาน, ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และ ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า

ในฐานะส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับเอ็กซ์โป 2010 จึงมีแผนพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ดำเนินโครงการปรับขยายในปี 2549 โดยวางแผนที่จะเพิ่มรันเวย์และอาคารผู้โดยสาร โครงการเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ก่อน เอ็กซ์โป 2010 (Shanghai World Expo 2010) จากแผนที่กำหนดไว้ โดยได้เสร็จสิ้นโครงการปรับขยายที่มีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านหยวนตามแผน 5 ปี ทั้งนี้รวมถึงรันเวย์ที่สอง ขนาด 3,300 เมตร และอาคารผู้โดยสารใหม่ 2 อาคาร ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถของท่าอากาศยานหงเฉียวให้รองรับผู้ใช้งาน 40 ล้านคน/เที่ยวต่อปี อาคารผู้โดยสารที่ 2 นี้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารผู้โดยสารที่ 1 ถึงสี่เท่า และอาคารผู้โดยสารที่ 2 ยังใช้สำหรับรองรับสายการบินร้อยละ 90 จากทั้งหมดของท่าอากาศยานหงเฉียว (อาคารผู้โดยสาร 1 ใช้สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศเท่านั้น และรวมถึงสปริงแอร์ไลน์ และ เซียะเหมินแอร์ ) ด้วยทางวิ่ง (รันเวย์) ใหม่ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแรกในประเทศจีนที่มี 5 รันเวย์เพื่อการพาณิชย์ (ท่าอากาศยานผู่ตงและท่าอากาศยานหงเฉียวรวมกัน) และ ในปัจจุบันมีแผนการขยายจำนวนรันเวย์ให้เป็นเจ็ด

รันเวย์ที่สองและอาคารผู้โดยสารแห่งที่สองแล้วเสร็จและเปิดในวันที่ 11 มีนาคมและ 16 มีนาคม 2010 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามควรสังเกตว่าไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่ง ผู้โดยสารต้องใช้รถบัสรับส่งระยะสั้นในขณะนั้น และรถไฟใต้ดินสาย 10 หรือรถไฟสายอื่น ๆ เพื่อเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งในเวลาถัดมา

ตั้งแต่ปลายปี 2557 อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานหงเฉียวแห่งที่ 1 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2464 โครงการทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 อาคาร A ของอาคารผู้โดยสารที่ 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้งานอีกครั้ง ต่อมาอาคาร B ถูกปิดเพื่อปรับปรุงใหม่ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารที่ 1 ทั้งสองส่วนแล้วเสร็จในวันที่ 15 ตุลาคมปี 2018

 
 IATA Code SHA  ICAO Code ZSSS  FAA Code
 เครื่องโทรศัพท์  โทรสาร  อีเมล
 Home Page  เฟซบุ๊ก  ทวิตเตอร์
แผนที่ - ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว (Shanghai Hongqiao International Airport)
แผนที่
ประเทศ - จีน
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
CNY เหรินหมินปี้ (Renminbi) Â¥ or å…ƒ 2
ISO Language
ZH กลุ่มภาษาจีน (Chinese language)
ZA ภาษาจ้วง (Zhuang language)
UG ภาษาอุยกูร์ (Uighur language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  คาซัคสถาน 
  •  คีร์กีซสถาน 
  •  ทาจิกิสถาน 
  •  ปากีสถาน 
  •  ภูฏาน 
  •  มองโกเลีย 
  •  ลาว 
  •  อัฟกานิสถาน 
  •  อินเดีย 
  •  เกาหลีเหนือ 
  •  เนปาล 
  •  เมียนมา 
  •  เวียดนาม 
  •  รัสเซีย 
Airport