ภาษาอูรดู

ภาษาอูรดู
ภาษาอูรดู (اردو) (รู้จักกันในชื่อภาษาว่า Lashkari لشکری ) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และสันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ. 1200-1800)

ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ 20 ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ 23 ภาษา ของประเทศอินเดีย

ไวยากรณ์ของภาษาอูรดูใกล้เคียงกับภาษาฮินดีมาก คำนามแบ่งเป็นปุลลึงค์ (ชาย) และสตรีลึงค์ (หญิง) มีการกำหนดเพศให้กับคำนามที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษด้วย คำนามแบ่งเป็นนามเอกพจน์และพหูพจน์

ประเทศ
  • ประเทศโอมาน
    โอมาน (Oman; عُمان) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman; سلطنة عُمان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย มีเมืองหลวงที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมัสกัต

    ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โอมานเป็นอาณาจักรที่แข่งขันกับจักรวรรดิโปรตุเกสและบริติชเพื่อแย่งชิงอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย อาณาจักรเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 19 อิทธิพลของโอมานขยายไปทั่วช่องแคบฮอร์มุซไปจนถึงบริเวณที่เป็นประเทศอิหร่านและปากีสถานในปัจจุบัน เมื่ออำนาจของโอมานเริ่มเสื่อมถอยลงในศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 300 ปี ในช่วงเวลานี้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรเกิดจากการมีผลประโยชน์ร่วมกัน สหราชอาณาจักรยอมรับความสำคัญทางภูมิศาสตร์ของโอมานในฐานะศูนย์กลางการค้าที่ยึดเส้นทางการค้าในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย และปกป้องอาณาจักรของพวกเขาในอนุทวีปอินเดีย และกรุงมัสกัตยังเคยเป็นท่าเรือการค้าหลักของภูมิภาคในอ่าวเปอร์เซียในอดีต
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์