ภาษาชูวัช

ภาษาชูวัช
ภาษาชูวัช (ชูวัช: Чӑвашла, ทับศัพท์ Chăvashla, ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน ภาษานี้เป็นภาษาเดียวในสาขาOghur ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่ยังมีผู้พูด ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย

แต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน พ.ศ. 2416 จน พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยใช้ตัวอักษรทั้งหมดจากชุดตัวอักษรรัสเซียและเพิ่มอักษรของตนเอง 4 ตัว: Ӑ, Ӗ, Ҫ และ Ӳ

ภาษาชูวัชเป็นภาษาแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆมากและไม่สามารถเข้าใจได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆคาดว่าภาษาแม่ของภาษานี้ที่ใช้พูดโดยชาวบุลการ์ในยุคกลางแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกสมัยใหม่อื่นๆและจัดเป็นภาษาพี่น้องของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมากกว่าจะเป็นภาษาลูกหลาน ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดคือภาษาฮันนิกที่เป็นภาษาตายไปแล้ว ก่อนหน้านี้มีนักวิจารณ์เสนอว่าภาษาชูวัชไม่ใช่ภาษากลุ่มเตอร์กิกแต่เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริกที่ถูกทำให้เป็นแบบภาษากลุ่มเตอร์กิก

ประเทศ