ภาษาซองคา

ภาษาซองคา
ภาษาซองคา เป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน อยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า ใกล้เคียงกับภาษาสิกขิมและภาษาอื่น ๆ ของชาวภูฏาน ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ เทียบได้กับความแตกต่างระหว่างภาษาสเปนกับภาษาอิตาลี พระในทิเบตและภูฏาน เรียนภาษาทิเบตโบราณเพื่อการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา คำว่าซองคาหมายถึง ภาษา (คา) ที่พูดในวัดที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ (ซอง) ภาษานี้แพร่เข้ามาในภูฏานเมื่อราว พ.ศ. 2200 โดย ชับดรุง งาวัง นัมกเยล

ภาษาซองคาและภาษาถิ่นอื่น ๆ เป็นภาษาแม่ของภูฏานตะวันตก มีผู้พูดภาษานี้ในเมืองกาลิมปงของอินเดียที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของภูฏาน แต่ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ภาษาซองคาเป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียน เป็นภาษากลางในภูฏานตอนใต้และตะวันออกที่ไม่ได้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ เขียนด้วยอักษรทิเบต หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรทิเบตแบบอูคันซึ่งเป็นแบบเดียวที่ใช้พิมพ์ภาษาทิเบต

นี่คือตัวอย่างประโยคในข้อที่ 1 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน:

ภาษาซองคาในอักษรทิเบต

ทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน

* ’Gro-ba-mi-rigs-ga-ra-dbaṅ-cha-’dra-mtam-’bad-sgyew-las-ga-ra-gis-gcig-gis-gcig-lu-spun-cha’i-dam-tshig-bstan-dgo.

แปล

* มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

ประเทศ