ธงชาติปาเลา

ธงชาติปาเลา
ธงชาติปาเลา มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นสีฟ้าน้ำทะเล ที่กลางธงค่อนมาด้านคันธงนั้นมีรูปวงกลมสีเหลือง ธงนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524 หลังจากที่ดินแดนแห่งนี้พ้นจากสถานะภาพการเป็นดินแดนในภาวะทรัสตี ซึ่งดูแลโดยสหประชาชาติ พื้นสีฟ้านั้นหมายถึงมหาสมุทรแปซิฟิก อันเป็นที่ตั้งของประเทศ (ในความเป็นจริงแล้ว ยังหมายถึงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองประเทศ จากประเทศผู้ยึดครอง มาสู่การปกครองตนเองโดยชาวปาเลา) วงกลมสีเหลืองหมายถึงพระจันทร์เพ็ญ ซึ่งตามความเชื่อของชาวปาเลาแล้ว ยามที่พระจันทร์เต็มดวงถือเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการทำกิจกรรมใดๆ ของมนุษย์ และดวงจันทร์ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ความรัก และความสงบด้วย

ก่อนหน้านี้ ปาเลาเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ปกครองดูแล ในดินแดนนี้จึงได้ใช้ธงของสหประชาชาติเป็นเครื่องหมายมาจนถึง พ.ศ. 2505 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ธงของดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งหมู่เกาะมหาสมุทรแฟซิฟิก (the Trust Territory of the Pacific Islands) จนกระทั่งปาเลาได้รับเอกราช โดยทั้งสองธงดังกล่าวนี้ จะต้องชักขึ้นควบคู่กับธงชาติสหรัฐอเมริกาด้วย

* Republic of Palau Convention History of the National Flag

* Republic of Palau Convention History of the National Flag

ธงชาติ
ธงชาติปาเลา
ประเทศ - ประเทศปาเลา

Warning: getimagesize(/Image/Map/MP1559582.gif): failed to open stream: No such file or directory in /home/mapnlee7/public_html/MAPNALL/article.php on line 532
ปาเลา (Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau ) เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะ 340 เกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะแคโรไลน์ เนื้อที่รวมประมาณ 466 ตารางกิโลเมตร เกาะที่มีประชากรมากที่สุดคือคอรอร์ เมื่องหลวงชื่อเงรุลมุด มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับประเทศไมโครนีเชียทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียทางใต้ และประเทศฟิลิปปินส์ทางตะวันออกเฉียงหนือ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก

สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก